ชื่อโครงงาน สมุนไพรปราบลูกน้ำยุง
ประเภทโครงงาน การทดลอง
ผู้จัดทำ 1. นายศุภชัย
เข็มประโคน
2. นายอภิสิทธิ์
อักษร
3. นายอมรศิริวรรษ รัตนะ
ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่
4/1
ครูที่ปรึกษา คุณครูรตนัตตยา
จันทนะสาโร
บทคัดย่อ
ลูกน้ำเป็นสัตว์ที่อยู่ตามน้ำท่วมขัง
เมื่อลูกน้ำโตเต็มที่จะกลายเป็นยุง ทำให้ยุงเป็นปัญหาใหญ่แก่มนุษย์
ยุงเป็นตัวนำพาเชื้อโรคทำให้เป็นอันตรายแก่มนุษย์
จึงทำให้คนคิดหาทางแก้ไขปัญหาโดยใช้สมุนไพรกำจัดลูกน้ำ
กลุ่มของพวกเราจึงได้ศึกษาหาข้อมูลว่ามีอะไรกำจัดลูกน้ำได้บ้าง
พวกเราได้พบว่ากะเพรา โหระพา และกระเพรา สามารถกำจัดลูกน้ำได้
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ดี
ด้วยความร่วมมือจากผู้ปกครอง คุณครู
และเพื่อนๆ ผู้จัดทำขอขอบคุณ
คุณพ่อคุณแม่ ของคณะผู้จัดทำที่ช่วยในการจัดหาใบโหระพา ใบสะเดา และกระเพราแดงขอขอบคุณ
คุณครูที่ให้คำปรึกษาแนะนำในการทำโครงงานครั้งนี้
ขอขอบคุณ พี่ๆ และเพื่อนๆ ที่ช่วยทดลองใช้น้ำยากำจัดลูกน้ำจากใบโหระพา
เมล็ดสะเดา และใบกระเพราแดง ที่จัดขึ้น ทำให้งานชิ้นนี้สำเร็จไปด้วยดี
คณะผู้จัดทำ
บทที่1
บทนำ
ที่มาของโครงงาน
ยุง
เป็นพาหะนะนำโรคหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย
โรคเท้าช้าง เป็นต้น จึงมีผู้คิดทำตัวยาเพื่อกำจัดและป้องกันยุงขึ้นมาหลายชนิดเช่น
ครีมทากันยุง ยาจุดกันยุง ยาฉีดกันยุง น้ำมันไล่ยุง เป็นต้น แต่ยากันยุงเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเพราะมีสารที่เป็นอันตรายผสม
อยู่ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บางคนเกิดอาการแพ้
ผู้จัดทำโครงงานได้พบว่ามีชาวบ้านในท้องถิ่นได้นำใบกะเพราแดง สะเดา และโหระพาหอมทำเป็นแล้ววาง
ไว้ใกล้ตัว พบว่าสามารถไล่ยุงได้ ผู้จัดทำจึงได้สมุนไพรไล่ยุงขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและหยุดปัญหาการแพ้สารเคมี
จุดประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อกำจัดลูกน้ำและป้องกันยุงด้วยสมุนไพร
2. เพื่อหาวัตถุธรรมชาติที่ไม่มีอันตรายมาทดแทนการใช้สารเคมี
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ
1. รู้ว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถปราบลูกน้ำยุงได้
2. รู้วิธีทำสมุนไพรปราบลูกน้ำยุง
3. ได้ฝึกวิธีการ กระบวนการทดลองวิทยาศาสตร์
สมมุติฐาน
น้ำที่ได้จากเมล็ดและใบของ
กระเพราแดง สะเดา โหระพา สามารถกำจัดลูกน้ำยุงได้ และ ป้องกันลูกน้ำยุงได้
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาวิธีการปราบลูกน้ำยุงด้วยสมุนไพรต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรต่าง
แต่ละชนิด ในการปราบลูกน้ำยุง ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้
ยุง
เป็นแมลง
ที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกินเลือด
เป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะ
แพร่เชื้อโรค อีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด
แต่ที่คุ้นเคยกันดีคือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes)และยุงมีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย ไข่
ลูกน้ำ ตัวโม่ง ตัวเต็มวัย
สะเดา
เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
เจริญได้ดีในที่แล้ง ใช้ประโยชน์ได้มากมายทั้งเป็นอาหารและสร้างที่อยู่อาศัย
ในใบและเมล็ดสะเดามีสารอาซาดิเรซติน (Azadirachtin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารฆ่าแมลง
ในเมล็ดมีน้ำมันที่เรียกว่า margosa oil ใช้เป็นสีย้อมผ้าและยาฆ่าพยาธิในสัตว์เลี้ยง
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด แต่ต้องรีบนำไปเพาะทันทีหลังจากเมล็ดร่วง มิฉะนั้น
จะสูญเสียความสามารถในการงอกไปอย่างรวดเร็ว
จากเมล็ดของสะเดานั้น
มีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สารสำคัญนั้นคือ azadirachtin
โหระพา
เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 – 1 เมตร
ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม
รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 4 – 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ
ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว
7 – 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล
กลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน มีผลขนาดเล็ก
โหระพามีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สารสำคัญนั้นคือ eugenol geraniol และ linalool
กระเพราแดง
เป็นไม้ล้มลุก
แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มต้นไม่ต่อยสูงมากนัก สูงประมาณ 30 – 60 ซม. นิยมนำใบกะเพรามาประกอบอาหารคือคือใช้เป็นผักสวนครัว
เช่น ผัดกะเพรา กะเพรามีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ
กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว ข้อแตกต่างระหว่ากะเพราขาว และ
กะเพราแดง นั้นคือ สีสันและลักษณะของใบเพียงเล็กน้อยเท่านั้นส่วนสรรพคุณของกะเพรา
ก็ยังมีเหมือนกัน
ใบกระเพราแดงมีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สารสำคัญนั้นคือ monoterpenes และ sesquiterpene
บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง
อุปกรณ์การทดลอง
1.
สะเดา
2.
โหระพา
3.
กระเพราแดง
4.
ครก
5.
สาก
6.
ผ้าขาวบาง
7.
น้ำต้มสุก
8.
ถ้วย
ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
ชนิดที่ 1
ตัวแปรต้น สะเดา
ตัวแปรตาม การตายของลูกน้ำยุง
ตัวแปรควบคุม 1.ปริมาณของเมล็ดพืช
2.ปริมาณน้ำ
ชนิดที่ 2
ตัวแปรต้น โหระพา
ตัวแปรตาม การตายของลูกน้ำยุง
ตัวแปรควบคุม 1.ปริมาณของเมล็ดพืช
2.ปริมาณน้ำ
ชนิดที่ 3
ตัวแปรต้น กระเพราแดง
ตัวแปรตาม การตายของลูกน้ำยุง
ตัวแปรควบคุม 1.ปริมาณของเมล็ดพืช
2.ปริมาณน้ำ
วิธีการทดลอง ชนิดที่ 1
![]() |
![]() |
||

![]() |
![]() |
||
นำเมล็ดสะเดามาโคก จนละเอียด แล้วรองด้วยผ้าขาว แล้วใช้น้ำต้มสุกกรองใส่ถ้วย เป็นน้ำจากเมล็ดสะเดา แล้วนำไปใส่ในน้ำที่มีลูกน้ำยุง

วิธีการทดลอง ชนิดที่ 2


![]() |
|||||
![]() |
![]() |
||||
นำใบโหระพามาโคก จนละเอียด แล้วรองด้วยผ้าขาว แล้วใช้น้ำต้มสุกกรองใส่ถ้วย เป็นน้ำจากใบโหระพา แล้วนำไปใส่ในน้ำที่มีลูกน้ำยุง
วิธีการทดลอง ชนิดที่ 3

![]() |

![]() |
![]() |
![]() |
|||
นำใบกระเพราแดงมาโคก จนละเอียด แล้วรองด้วยผ้าขาว แล้วใช้น้ำต้มสุกกรองใส่ถ้วย เป็นน้ำจากใบกระเพราแดง แล้วนำไปใส่ในน้ำที่มีลูกน้ำยุง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. นักเรียนนำเสนอหัวข้อโครงงานที่กลุ่มตนเองสนใจ
2. คณะผู้จัดทำช่วยกันคิดคำถาม และ สมมุติฐาน
3. เตรียมอุปกรณ์แล้วลงมือทำ
4. ทดลอง
5. บันทึกผลและสรุปการทดลอง
6. สรุปและเขียนรายงานโครงงาน
บทที่ 4
ผลการทดลอง
การทดลองเพื่อศึกษาสมุนไพรปราบลูกน้ำยุง
คือ สะเดา โหระพา และกระเพราแดงสามารถกำจัดลูกน้ำยุงได้ คือ
เมื่อเราเทน้ำที่ได้มาจากสมุนไพร ลงในน้ำที่อาศัยของลูกน้ำยุง และทำให้ลูกน้ำยุงตายภายใน
1 วัน
บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผล
อภิปรายผล
การจัดทำรายงาน เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง สามารถอภิปรายผลได้ ดังนี้
การนำสมุนไพรมาใช้กำจัดยุงให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ การรู้จักนำสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า แทนการใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดยุงที่มีสารประกอบเคมีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวเรา
การใช้สมุนไพรกำจัดยุงนี้นอกจากจะไม่เป็นอันตรายต่อเราแล้วยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
สรุปผลการทดลอง
ในการทดลองครั้งนี้พบว่า
1. รู้ถึงวิธีกำจัดลูกน้ำยุงลายที่ถูกต้องโดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
2. จากการทดสอบประสิทธิภาพของสมุนไพรที่นำกำจัดยุงลายพบว่ากะเพราเป็นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพกำจัดยุงลายได้ดีที่สุดรองลงมาคือโหระพาและสะเดา
จากการทดสอบพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ผลการทดสอบคือใบกะเพรามีประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายมากที่สุดและมีระยะเวลาในการตายที่เหมาะสม
ผลเนื่องมาจากในสารสกัดใบกระเพราในน้ำเป็นพิษต่อตัวอ่อนเพราะมี Ursolic acid ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell และ eugenol ทำให้มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียจึงทำให้ลูกน้ำสามารถตายได้
เป็นผลทำให้ช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาติดต่อกับมนุษย์
และยังเป็นการช่วยลดปริมาณการเกิดของยุงลายอีกด้วย
ข้อเสนอแนะ การจัดทำรายงาน
เรื่อง สมุนไพรไล่ยุง มีข้อเสนอแนะดังนี้ ดังนี้
การทำรายงานค้นคว้าฉบับนี้มีข้อมูลที่ครบถ้วนแต่อาจไม่สมบูรณ์เพียงพอ
ผู้สนใจจึงอาจจะได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง สมุนไพรไล่ยุง
บรรณานุกรม
ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559, จาก http://www.krusarawut.net/
ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559, จาก http://pavitra610.blogspot.com/